เป้าหมาย (Understanding Goal) : เข้าใจเห็นคุณค่าของน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก และมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติอื่นและวิถีชีวิตของมนุษย์ มีแนวทางในการใช้ประโยชน์จากน้ำและ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

วันเสาร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

Mind mapping















ผังเชื่อมโยงสาระการเรียนรู้







หน่วยการเรียนรู้ (Topicเรื่อง น้ำหยดสุดท้าย  

เป้าหมายความเข้าใจ (Understanding Goals) :
 เข้าใจเห็นคุณค่าของน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก และมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติอื่นและวิถีชีวิตของมนุษย์ มีแนวทางในการใช้ประโยชน์จากน้ำและทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

คำถามหลัก (Big Question)  : 
เราจะใช้น้ำที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดอย่างไร

ภูมิหลังของปัญหา

ในช่วงฤดูแล้งเรา(โรงเรียน) มักประสบปัญหาเกี่ยวกับน้ำ เช่นบางปีปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการใช้งาน บางปีน้ำที่สูบขึ้นจากน้ำใต้ดินก็มีรสเค็ม น้ำจืด(น้ำสะอาด) ที่นำมาใช้ได้ก็มีปริมาณไม่เพียงพอต่อการใช้ที่หลากหลายและล้วนมีความจำเป็นต่อการใช้น้ำทั้งสิ้น   ทั้งน้ำดื่มสะอาดยังเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น การเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น (ในโรงเรียนของเราก็สามารถเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดได้โดยผ่านนวัตกรรมเครื่องกรองน้ำ) แต่คนอีกหลายพันล้านคนยังประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ และในอนาคตความต้องการน้ำก็จะเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเราจะใช้และมีวิธีการบริหารจัดการน้ำที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน รวมทั้งดูแลและใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไรให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

สิ่งที่รู้แล้ว สิ่งที่อยากเรียนรู้
การเรียนรู้แบบบูรณาการ Problem based Learning (PBL)
หน่วยการเรียนรู้ “น้ำหยดสุดท้าย” ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 Quarter 4 /2558

สิ่งที่รู้แล้ว
สิ่งที่อยากเรียนรู้
-น้ำสามารถนำไปรดต้นไม้ได้
-น้ำเป็นสิ่งจำเป็นไม่ควรใช้ทิ้งขว้าง
-น้ำฝนมีสิ่งปนเปื้อน
-เราสามารถนำน้ำสกปรกไปกรองได้
-น้ำเป็นเครื่องดื่ม
-เรานำน้ำฝนมาดื่มได้
-ถ้าเราใช้น้ำไม่ประหยัดน้ำจะเหลือน้อย
-น้ำเป็นส่วยประกอบชองอาหาร
-ในร่างกายเรามีน้ำ
-โลกเรามีน้ำได้อย่างไร
-เพราะเหตุใดน้ำจึงสำคัญกับเรา
-เราสามารถทำน้ำสกปรกให้สะอาดได้อย่างไร
-เราจะนำน้ำมาเป็นของเล่นได้อย่างไร
-ทำไมน้ำทะเลจึงเค็ม
-ถ้าฝนไม่ตกจะเป็นอย่างไร
-เราจะทำน้ำเค็มเป็นน้ำจืดได้อย่างไร
-ทำไมน้ำไม่มีรสชาติ
-น้ำมีกี่ชนิด
-เราสามารถแยกน้ำกับของเหลวอื่นอย่างไร
-เราจะมีวิธีดูแลน้ำอย่างไร
-เราจะมีวิธีเก็บน้ำอย่างไร
-ถ้าร่างกายเราขากน้ำจะเป็นอย่างไร
-ทำไมสิ่งมีชีวิตต้องการน้ำ
-น้ำไม่สะอาดจะทำอย่างไร
-เราทุกคนจะเข้าถึงน้ำสะอาดได้อย่างไร

ปฏิทินการเรียนรู้  
Week
Input
Process
Output
Outcome






1



11-15
ม.ค.
59

โจทย์ : 
สิ่งที่อยากเรียนรู้   
                                  
คำถาม
นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไร เพราะเหตุใดจึงอยากเรียนรู้                  
เครื่องมือคิด
       
-
 Round Robin 
- Card and Chart 
- Think Pair Share 
- Mind Mapping 
- Wall Thinking 

สื่อ / แหล่งเรียนรู้
- กระดาษ
- คลิปน้ำ หยดน้ำ ผลึกน้ำ
-การ์ตูน The Life of water
Save water
-สารคดี น้ำคือชีวิต
- ครูตั้งคำถาม “ใช้น้ำ 1 ถังในเวลา  1 วันอย่างไร”
-นักเรียนดูคลิปน้ำ  หยดน้ำ ผลึกน้ำ สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู : นักเรียนคิดอย่างไร
-เล่าข่าวเกี่ยวกับภาวะขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งปีนี้ (บุรีรัมย์)มอบแหล่งน้ำแก้ปัญหาภัยแล้ง บ้านหนองตะกอ จ.บุรีรัมย์
- นักเรียนดูการ์ตูน The Life of water / Save water
-เขียนสรุปสิ่งที่ได้ดู :นักเรียนเห็นอะไร รู้สึกอย่างไร สิ่งนั้นเกี่ยวข้องกับนักเรียนอย่างไร นักเรียนคิดอย่างไรต่อสิ่งนั้น(สิ่งที่ได้ดู)
-สำรวจ แหล่งน้ำและจุดที่เราต้องใช้น้ำในโรงเรียน : นักเรียนคิดอย่างไรต่อการสำรวจครั้งนี้ นักเรียนแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการสำรวจ
-ดูสารคดี น้ำคือชีวิต : นักเรียนเห็นอะไร รู้สึกอย่างไร สิ่งนั้นเกี่ยวข้องกับนักเรียนอย่างไร นักเรียนคิดอย่างไรต่อสิ่งนั้น(สิ่งที่ได้ดู)
- เขียนสิ่งที่อยากเรียนรู้ พร้อมเหตุผลที่อยากเรียนรู้
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ภาระงาน
-วิเคราะห์แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้ดูจากคลิป การ์ตูน สารคดี
-เขียนสิ่งที่อยากเรียนรู้
-เขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ชิ้นงาน
-เรื่องที่อยากเรียนรู้
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจความต้องการของตนเองสามารถพูดอธิบายพร้อมกับตั้งคำถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจและสามารถเลือกสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ได้
ทักษะ
 :
-ทักษะชีวิต
-
 ทักษะการสื่อสาร
-ทักษะการจัดการข้อมูล
-ทักษะการอยู่ร่วมกัน
คุณลักษณะ

Week
Input
Process
Output
Outcome






2

18-22
ม.ค.
59
โจทย์ : 
วางแผนการเรียนรู้

คำถาม
- นักเรียนจะออกแบบและวางแผนการเรียนรู้ใน Quarter นี้อย่างไร

เครื่องมือคิด
-  Brainstorms 
-  Wall Thinking 
- Think Pair Share
- Mind Mapping
- Key Question

สื่อ / แหล่งเรียนรู้
 -สารคดีน้ำคือชีวิต (ตอนใหม่)  
-การ์ตูน  save water save life/ save water save Future   
- ดูสารคดีน้ำคือชีวิต (ตอนใหม่) และการ์ตูน  save water save life/ save water save Future   
- ครูเล่านิทานเรื่อง “สาเหตุที่เทวดาไม่อยู่บันโลก” แล้วสนทนาแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้ดู :นักเรียนเห็นอะไร รู้สึกอย่างไร สิ่งนั้นเกี่ยวข้องกับนักเรียนอย่างไร นักเรียนคิดอย่างไรต่อสิ่งนั้น(สิ่งที่ได้ดู)
- ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
- เขียนสิ่งที่รู้แล้วสิ่งที่อยากเรียนรู้
- ออกแบบและวางแผนการเรียนรู้ (ปฏิทินการเรียนรู้)
- เขียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนเรียน
- เขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
-วิเคราะห์ สนทนาแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้ดู ได้ฟังเกี่ยวกับน้ำ
-ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
-เขียนสิ่งที่รู้แล้วสิ่งที่อยากเรียนรู้
-วางแผนการเรียนรู้ (ปฏิทินการเรียนรู้)

ชิ้นงาน
-ชื่อหน่วยการเรียนรู้
-สิ่งที่รู้แล้วสิ่งที่อยากเรียนรู้
-ปฏิทินการเรียนรู้
-Mind Mapping ก่อนเรียนรู้
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้ :
เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่อยากเรียนรู้ และสามารถวางแผนการเรียนรู้ของตนเองร่วมกับผู้อื่นได้ อย่างมีขั้นตอน และสร้างสรรค์

ทักษะ
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน

คุณลักษณะ

Week
Input
Process
Output
Outcome








3

25-29
ม.ค.
59

โจทย์
แยกน้ำและน้ำมัน
คำถาม
- เราจะแยกน้ำกับของเหลวอื่นอย่างไร
- เลือดเป็นน้ำหรือของเหลว จะเป็นอย่างไรถ้าร่างกายเราขาดน้ำ
- จะแยกน้ำมันออกจากน้ำได้อย่างไร

เครื่องมือคิด
- Black Board Share
- Fish Bone
-  Wall Thinking 
- Think Pair Share
- Mind Mapping
- Key Question

สื่อ/แหล่งเรียนรู้
- อินเทอร์เน็ต
- อุปกรณ์การทดลอง (น้ำผึ้ง นม น้ำยาล้างจาน น้ำเปล่า น้ำมันพืช แอลกอฮอล์)

- ทดลอง น้ำผึ้ง นม น้ำยาล้างจาน น้ำเปล่า น้ำมันพืช แอลกอฮอล์ : นักเรียนสังเกตความแตกต่าง บันทึกสรุปผลเป็นข้อความภาพ
- ต้มน้ำมันสังเกตจุดเดือดของน้ำมัน จุดเดือดของน้ำ  ทดลองแยกน้ำกับน้ำมัน
- ทดลองน้ำเป็นตัวทำละลาย (เกลือ น้ำตาล สี)
- ทดสอบการไหลของน้ำ และของเหลวอื่น (น้ำมัน เจล ครีม น้ำเชื่อม ฯลฯ) บันทึกผลการทดสอบเป็นภาพ ประกอบข้อความ
- แบ่งกลุ่มศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสมบัติของน้ำ / ของเหลวกับน้ำ สรุปเป็นชาร์ตความรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
-ทดลองและวิเคราะห์ สมบัติของน้ำ บันทึกผลการทดลอง (ความหนาแน่น อุณหภูมิ การไหล ตัวทำละลาย)
- ศึกษาค้นคว้าสมบัติของน้ำ
-วิเคราะห์ถ้าเราไม่ดื่มน้ำร่างกายจะเป็นอย่างไรเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

ชิ้นงาน
- แบบสรุปบันทึกผลการทดลอง
-ชาร์ตความรู้
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจสมบัติของน้ำ และของเหลวอื่นๆ สามารถแยกและอธิบายสมบัติของน้ำ ของของเหลวอื่นแล้วสรุปอธิบายให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ นำไปปรับใช้กับตนเองได้อย่างเหมาะสม

ทักษะ
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน

คุณลักษณะ

Week
Input
Process
Output
Outcome








4

1-5
ก.พ.
59

โจทย์
ปลูกผักบุ้งด้วยน้ำ 1.5 ลิตร

คำถาม
-โรงเรียนของเราใช้แหล่งน้ำใด นำมาใช้อย่างไร
- นักเรียนจะปลูกผักบุ้งให้ได้ผลผลิตโดยใช้น้ำเพียงขวดเดียว(1.5 ลิตร)ได้อย่างไร

เครื่องมือคิด
- Blackboard Share
- Brainstorm
-  Wall Thinking 
- Think Pair Share
- Place mat
- Key Question

สื่อ-แหล่งเรียนรู้
- แหล่งน้ำในโรงเรียน
- อินเทอร์เน็ต
- กระดาษลิสมัต

- ครูเล่าเรื่องเกี่ยวกับทะเลเดดซี(ทะเลที่น้ำเค็มที่สุดในโลก)นักเรียนช่วยกันวิเคราะห์เพราะเหตุใด
- ทดลองการลอยตัวของวัตถุบนผิวน้ำ ระหว่างน้ำปกติกับน้ำที่มีความหนาแน่นแตกต่างกัน  (น้ำเค็ม)
- ทดสอบน้ำในโรงเรียน สังเกตความแตกต่างๆ ความเป็นกรด เป็นเบส เป็นกลาง  (กระดาษลิสมัต) บันทึกผลการทดลองผ่านรูปและเขียนสรุป
- ครูตั้งคำถาม “นักเรียนจะปลูกผักบุ้งโดยใช้น้ำเพียง 1.5 ลิตร สังเกตการณ์หายไปของน้ำ หายไปอย่างไร ผลผลิตเป็นอย่างไร นักเรียนมีวิธีในการเก็บน้ำ หรือให้ผักบุ้งได้รับน้ำจนเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างไร
- ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการเกิดน้ำ แหล่งน้ำ ประเภทของน้ำ
- สรุปวิเคราะห์เชื่อมโยง”เราจะใช้ประโยชน์จากน้ำแต่ละประเภทแต่ละแหล่งที่มาให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดอย่างไร
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- สำรวจ ทดสอบแหล่งน้ำในโรงเรียน
- ทดลองการลอยตัวของวัตถุบินผิวน้ำ (น้ำเค็ม)
-  ศึกษาค้นคว้าข้อมูล แหล่งน้ำ การเก็บกั๊กน้ำ ประเภทของน้ำ วิเคราะห์การนำไปใช้อย่างเหมาะสม
-ศึกษาค้นคว้าและหาวิธีในการปลูกผักบุ้งโดยใช้น้ำเพียง 1.5 ลิตร

ชิ้นงาน
- Model แหล่งน้ำ
-การ์ตูนช่อง แหล่งน้ำและการใช้น้ำอย่างเหมาะสม
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
-เข้าใจการระเหยของน้ำ การเก็บกัก และการดูซึมน้ำของพืช ตลอดจนการเกิด แหล่งที่มาและประเภทของน้ำ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการปลูกพืชโดยใช้น้ำในปริมาณน้อยรวมทั้งนำมาประยุกต์ใช้กับตนเองในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

ทักษะ
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน

คุณลักษณะ

Week
Input
Process
Output
Outcome



5


8-12
ก.พ.
59
โจทย์
น้ำกับชีวิต
คำถาม
-ในแต่ละวันนักเรียนใช้น้ำทำอะไรบ้าง ใช้อย่างไร
น้ำเกี่ยวข้องกับเราอย่างไรบ้าง
-จะเป็นอย่างไรถ้าไม่มีน้ำ

เครื่องมือคิด
- Blackboard Share
- Brainstorm
-  Wall Thinking 
- Think Pair Share
- Mind Mapping
- Key Question

สื่อ-แหล่งเรียนรู้
- อินเทอร์เน็ต
-คลิปวีดีโอการใช้น้ำ

- ทดลองการหักเหของแสง (น้ำทำให้เกิดการหักเหของแสง)
- นักเรียนวิเคราะห์การใช้น้ำในชีวิตประจำวันของตนเอง ตั้งแต่ตื่นนอน
- ชมคลิปวีดีโอและภาพนิ่งเกี่ยวกับการใช้น้ำของประเทศที่ขาดแคลนน้ำแล้วพูดคุยแสดงความคิดเห็น
- จับฉลากแบ่งกลุ่มและเลือกหัวข้อในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับประโยชน์และการใช้น้ำ ประกอบอาหาร “น้ำกับมื้ออาหาร” การรับประทานอาหาร  1 มื้อใช้น้ำปริมาณเท่าไร
- ทำน้ำสมุนไพร(น้ำเป็นตัวกลางในการทำละลาย) สังเกตและอภิปรายแสดงความคิดเห็น
- สรุปชาร์ตความรู้นำเสนอผลงานและสรุปผลการศึกษาค้นคว้า(Show & Share)
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ทดลองการหักเหของแสง
- วิเคราะห์การใช้น้ำในชีวิตประจำวันของตนเอง
- วิเคราะห์สรุปสิ่งที่ได้ดูจากคลิปวีดีโอ
- ประกอบอาหารทดลองคำนวณปริมาณน้ำที่ใช้ สังเกตปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างการประกอบอาหาร บันทึกผล
- สรุปชาร์ตความรู้ประโยชน์และการใช้น้ำ

ชิ้นงาน
-ชาร์ตความรู้
-อาหาร/น้ำสมุนไพร
-Mind Mapping ประโยชน์และการใช้น้ำ
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและเห็นความสำคัญของน้ำที่ใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองและสิ่งมีชีวิตอื่น สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า เหมาะสม

ทักษะ
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน

คุณลักษณะ

Week
Input
Process
Output
Outcome



6

15-19
ก.พ.
59
โจทย์
ทำน้ำสกปรก/น้ำเค็มให้ดื่มได้
คำถาม
-เราสามารถทำน้ำขุ่นน้ำสกปรก น้ำที่เป็นตะกอน หรือน้ำเค็มให้เป็นน้ำสะอาดและดื่มได้อย่างไร

เครื่องมือคิด
- Blackboard Share
- Brainstorm
-  Wall Thinking 
- Think Pair Share
- ชักเย่อความคิด
- Key Question

สื่อ-แหล่งเรียนรู้
- อินเทอร์เน็ต
- คลิปวีดีโอระบบน้ำประปา “รู้ให้ครบ ระบบน้ำใช้”  “อีเอ็มบอลคืออะไร”
- อุปกรณ์การทดลองการกรองน้ำ


-ดูคลิปวิดีโอระบบน้ำประปา “รู้ให้ครบ ระบบน้ำใช้”
-สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคลิปวีดีโอที่ดู นักเรียนคิดอย่างไร
-ชักเย่อความคิดน้ำขวดสะอาดกว่าน้ำกรอง
-นักเรียนทำเครื่องกรองน้ำสกปรกให้เป็นน้ำสะอาด และทำเครื่องกรองน้ำเค็มให้เป็นน้ำสะอาดดื่มได้ ทดลองปรับปรุงจนได้ตามเป้าหมายที่วางแผนไว้ วิเคราะห์สรุปเกี่ยวกับการทำเครื่องกรองน้ำอย่างง่ายของตนเอง สนทนาแลกเปลี่ยนและบันทึกการทดลอง
-ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับแหล่งน้ำในโรงเรียนและแหล่งน้ำในชุมชนของตนเอง รวมทั้งการดูแลและบำบัดน้ำ รวมทั้งการใช้การดูแลแหล่งน้ำอย่างเหมาะสม
-ทำนิทานประกอบภาพ “คุณค่า และการใช้น้ำ” 
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ภาระงาน
-วิเคราะห์ สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการการบำบัดน้ำเสีย
-ออกแบบและทำเครื่องกรองน้ำอย่างง่าย
- ศึกษาค้นคว้าข้อมูลการดูแลบำบัดน้ำ ศึกษาวิธีการทำเครื่องกรองน้ำสกปรก น้ำเค็มให้สามารถดื่มได้
- ออกแบบนิทานภาพ “คุณค่าและการใช้น้ำ”

ชิ้นงาน
- นิทานประกอบภาพ
- เครื่องกรองน้ำ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถแก้ปัญหาน้ำสกปรก น้ำเค็มให้เป็นน้ำสะอาดและสามารถนำมาดื่มได้ สามารถออกแบบและประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำ รวมทั้งมีวิธีการ มีแนวทางในการป้องกันและดูแลแหล่งน้ำได้อย่างเหมาะสม

ทักษะ
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน

คุณลักษณะ
Week
Input
Process
Output
Outcome


7

22-26
ก.พ.
59

โจทย์
น้ำแข็งไม่ละลาย/ละลายช้า
คำถาม
-นักเรียนจะทำให้น้ำแข็งไม่ละลายหรือละลายช้าได้อย่างไร
 - เพราะเหตุใดเราจึงรู้สึกกระหายน้ำ
- เราควรดื่มน้ำเมื่อใด เพราะเหตุใด
- นักเรียนจะมีวิธีการสร้างแรงบันดาลใจหรือกระตุ้นให้ผู้อื่นดูแลและตระหนักถึงการใช้น้ำอย่างคุ้มค่าอย่างไร

เครื่องมือคิด
- Blackboard Share
- Brainstorm
-  Wall Thinking 
- Think Pair Share
- ชักเย่อความคิด
- Key Question

สื่อ-แหล่งเรียนรู้
- อินเทอร์เน็ต


- ทดลองอุณหภูมิและการจับตัวกันของน้ำ “การจับตัวของน้ำแข็ง”
-ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะทำให้น้ำแข็งไม่ละลายหรือละลายช้าได้อย่างไร”นักเรียนศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการเก็บน้ำแข็งให้อยู่นาน(ละลายช้า)

- ทดลองการกระจายตัวของน้ำร้อนและน้ำเย็น (การแตกตัวของโมเลกุลในน้ำ)
-ชักเย่อความคิดดื่มน้ำธรรมดาดีกว่าน้ำเย็น
- นักเรียนศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการดื่มน้ำ รวมทั้งปริมาณน้ำที่ร่างกายของเราต้องการในแต่ละวัน
- วิเคราะห์เกี่ยวกับการดื่มน้ำ น้ำปกติ น้ำอุ่น น้ำเย็น ดื่มน้ำอย่างไรดีต่อร่างกาย
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ภาระงาน
- ทดลองอุณหภูมิและการจับตัวกันของน้ำ “การจับตัวของน้ำแข็ง”
- ทดลอง หาวิธีการไม่ให้น้ำแข็งละลาย
- ทดลองการกระจายตัวของน้ำร้อนและน้ำเย็น (การแตกตัวของโมเลกุลในน้ำ)
- ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการดื่มน้ำ รวมทั้งปริมาณน้ำที่ร่างกายของเราต้องการในแต่ละวัน
- วิเคราะห์เกี่ยวกับการดื่มน้ำ น้ำปกติ น้ำอุ่น น้ำเย็น ดื่มน้ำอย่างไรดีต่อร่างกาย


ชิ้นงาน
-การ์ตูนช่อง
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจสมบัติของน้ำ สถานะของน้ำที่อยู่ในสถานะต่างๆ สามารถอธิบายการหายไปของน้ำในร่างกายของตนเองของสิ่งมีชีวิต สามารถ นำมาประยุกต์ใช้กับตนเองในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

ทักษะ
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน

คุณลักษณะ
Week
Input
Process
Output
Outcome





8

1-5
มี.ค.
59

โจทย์
กักน้ำในอากาศ
คำถาม
- เราจะกักน้ำและนำน้ำในอากาศมาใช้ได้อย่างไร

เครื่องมือคิด
- Blackboard Share
- Brainstorm
-  Wall Thinking 
- Think Pair Share
- Card and Chart
- Key Question

สื่อ-แหล่งเรียนรู้
- อินเทอร์เน็ต
- ตัวอย่างชิ้นงานโปสเตอร์

-ทดลองการเกิดฝน  วิเคราะห์ปัจจัยที่ทำให้เกิดฝนในธรรมชาติ และหลักการของฝนเทียม
-ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะกักน้ำและนำน้ำในอากาศมาใช้ได้อย่างไร

- ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับผลกระทบของน้ำที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
- ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบ การวางองค์ประกอบภาพ  การใช้สี การใช้คำเพื่อสื่อสารในภาพให้น่าสนใจ
- วิเคราะห์เกี่ยวกับผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการใช้น้ำและผลกระทบของน้ำ
- ออกแบบป้าย หรือโปสเตอร์เพื่อกระตุ้น หรือสร้างแรงบันดาลใจในการใช้น้ำอย่างคุ้มค่า
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
-ทดลองการเกิดฝน ศึกษาค้นคว้าวิธีการเก็บกักน้ำที่อยู่ในอากาศมาใช้
-ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับผลกระทบของน้ำที่มีต่อมนุษย์ สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
-วิเคราะห์เกี่ยวกับผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการใช้น้ำและผลกระทบของน้ำ
- ออกแบบป้าย หรือโปสเตอร์เพื่อเพื่อกระตุ้น หรือสร้างแรงบันดาลใจในการใช้น้ำอย่างคุ้มค่า


ชิ้นงาน
-โปสเตอร์
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจเกี่ยวกับสถานะของน้ำที่อยู่ในสถานะต่างๆ สามารถกักและนำน้ำในอากาศมาใช้ได้ รวมทั้งมีวิธีการดูและสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ สามารถออกแบบป้าย หรือโปสเตอร์เพื่อกระตุ้น หรือสร้างแรงบันดาลใจในการใช้น้ำอย่างคุ้มค่าและเหมาะสม

ทักษะ
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน

คุณลักษณะ

Week
Input
Process
Output
Outcome



9

8-12
มี.ค.
59

โจทย์
วีดีโอ
คำถาม
นักเรียนจะมีวิธีการสร้างแรงบันดาลใจหรือกระตุ้นให้ผู้อื่นดูแลและตระหนักถึงการใช้น้ำอย่างคุ้มค่าอย่างไร

เครื่องมือคิด
- Blackboard Share
- Brainstorm
-  Wall Thinking 
- Think Pair Share
- Card and Chart
- Key Question

สื่อ-แหล่งเรียนรู้
- อินเทอร์เน็ต
- ตัวอย่างคลิป
- i pad

- ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับผลกระทบของน้ำที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ (การดูแลทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อดูแลต้นน้ำ)
- ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบ การวางองค์ประกอบภาพ  การใช้สี การใช้คำเพื่อสื่อสารในวีดีโอที่น่าสนใจ ถ่ายทำโดยใช้โปรแกรม ไอมูวี
- วิเคราะห์เกี่ยวกับการดูแลน้ำที่จะส่งผลต่ออนาคต
- แบ่งกลุ่มออกแบบstory Board ถ่ายทำเป็นวีดีโอสั้นๆโดยไม่ตัดต่อ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบ การวางองค์ประกอบภาพ  การใช้สี การใช้คำเพื่อสื่อสารในวีดีโอที่น่าสนใจ ถ่ายทำโดยใช้โปรแกรม ไอมูวี
- วิเคราะห์เกี่ยวกับการดูแลน้ำที่จะส่งผลต่ออนาคต
- แบ่งกลุ่มออกแบบstory Board ถ่ายทำเป็นวีดีโอสั้นๆโดยไม่ตัดต่อ

ชิ้นงาน
- วีดีโอ (การดูแลทรัพยากรธรรมชาติ เพื่อดูแลต้นน้ำ)
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจผลกระทบของน้ำที่มีต่อมนุษย์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ในอนาคต สามารถสื่อสารเรื่องราวผ่านวีดีโอ รวมทั้งนำสิ่งที่เรียนรู้ไปปรับใช้กับตนเองได้อย่างเหมาะสม

ทักษะ
ทักษะชีวิต
ทักษะการสื่อสาร
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการอยู่ร่วมกัน

คุณลักษณะ



Week
Input
Process
Output
Outcome





10

15-19
มี.ค.
59

โจทย์ :
สรุปองค์ความรู้หลังเรียน
คำถาม :
  นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างใน Quarter นี้?
- นักเรียนจะเผยแพร่องค์ความรู้ หน่วยการเรียนรู้Quarter นี้ ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้อย่างไร
-นักเรียนทำ สิ่งใดได้ดี และต้องพัฒนาบ้างเพราะเหตุใด

เครื่องมือคิด :
- Brainstorms 
-  Round Robin 
 - Card & Chart  
- Show and Share 
- Mind Mapping 
- Wall Thinking

สื่อและแหล่งเรียนรู้ :
บรรยากาศนานห้องเรียน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ผู้ปกครอง

- ทบทวนสิ่งที่ได้เรียนรู้ ตลอด Quarter ที่ผ่านมา
- สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับรูปแบบการจัดนิทรรศการเผยแพร่และสรุปองค์ความรู้
- แบ่งกลุ่ม เตรียมความพร้อม ในการสรุปนำเสนอเผยแพร่องค์ความรู้ในรูปแบบของนิทรรศการ
- จัดบรรยากาศห้องเรียน เพื่อเตรียมเปิดห้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้
- เผยแพร่องค์ความรู้ ในรูปแบบของนิทรรศการ
- เขียนสรุปสิ่งที่อยากเรียนรู้ และสิ่งที่ดีแล้ว สิ่งที่ต้องพัฒนา
- สรุปองค์ความรู้หลังเรียน
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน :
เขียนสิ่งที่ดีแล้วสิ่งที่ควรพัฒนา
นำเสนอความเข้าใจหลังเรียน
เขียนตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียน
จัดนิทรรศการสรุปและเผยแพร่องค์ความรู้

ชิ้นงาน :
- Mind Mapping การ์ตูนช่องหรือบรรยาย สรุปองค์ความรู้หลังเรียน
- สรุปสิ่งที่ทำดีแล้ว และสิ่งที่ควรพัฒนาเพิ่มเติม
- นิทรรศการสรุปและเผยแพร่องค์ความรู้
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้ :
นักเรียนเข้าใจและสามารถออกแบบวางแผนการถ่ายทอด สรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เรียนรู้ให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ เป็นแรงบันดาลใจ สะท้อนแง่มุมที่หลากหลาย นำสิ่งที่เรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และนำไปปรับใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

ทักษะ
ทักษะชีวิต
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
 ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะการสื่อสาร

คุณลักษณะ

ตารางวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด
สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมฯ
หน้าที่พลเมือง
ประวัติศาสตร์
สุขศึกษาฯ
ศิลปศึกษา
การงานอาชีพฯ
- สร้างฉันทะ
- สร้างแรงบันดาลใจ
- เรื่องที่อยากเรียนรู้
- เลือกหัวข้อโครงงาน
- สิ่งที่รู้แล้ว   สิ่งที่อยากเรียนรู้
- ปฏิทินการเรียนรู้
- Mind Mapping ก่อนเรียน

มาตรฐาน ว 8.1
- ใช้กระบวนการการทางวิทยาศาสตร์ ตั้งคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษา ตามความสนใจ (ว8.1 ป.2/1)
- วางแผนการศึกษาค้นคว้า  สำรวจ ตรวจสอบ โดยใช้ความคิดของตนเอง ของกลุ่ม และผู้รู้ (ว8.1ป.2/2)
- ใช้เครื่องมือ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ในการศึกษาค้นคว้า ตรวจสอบ รวบรวมข้อมูล บันทึก หรือสรุปผลการเรียนรู้อย่างเหมาะสม(ว8.1 ป.2/3)
- จัดกลุ่มข้อมูลเปรียบเทียบและนำเสนอผลการตรวจสอบ แสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่มรวบรวม และสรุปความรู้ได้  (ว8.1 ป.2/4-6)
มาตรฐาน ส 1.1
-ชื่นชมและให้กำลังใจเมื่อเพื่อนหรือสมาชิกกระทำสิ่งที่เหมาะสมอย่างจริงใจ (ส 1.1 ป.2/5)
มาตรฐาน ส 1.2
ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานร่วมกับผู้อื่นตามหน้าที่ของตน(ส 1.2 ป.2/1)
มาตรฐาน ส2.1
- ยอมรับในความคิด และความเชื่อของของผู้อื่นที่มีความแตกต่างจากตนเองในการเลือกและกำหนดสิ่งที่อยากเรียนรู้ (ส 2.1 . 2/3)
- เคารพและให้เกียตริในสิทธิและเสรีภาพของตนเองและผู้อื่นในการเลือกและตัดสินใจ (ส 2.1 . 2/4)
มาตรฐาน ส 4.2
อธิบายผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเรื่องน้ำที่มีผลต่อการใช้ชีวิตในชุมชน(ส 4.2. . 2/2)
-เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของวัฒนธรรมชุมชนที่เกี่ยวข้องกับน้ำในอดีตและปัจจุบัน (ส 4.2. . 3/3)

มาตรฐาน พ2.1
- ระบุบทบาทหน้าที่ของตนเองต่อสมาชิกในกลุ่มและเพื่อนร่วมชั้นในการเลือกหัวข้อและวางแผนการเรียนรู้ได้ (พ 2.1 . 2/1)
- ให้เกียรติและบอกความสำคัญของเพื่อนต่อกระบวนการเลือก การวางแผน รวมทั้งการทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันได้(พ 2.1 . 2/2)

มาตรฐาน ศ1.1
นำสิ่งที่ได้ดู ได้ฟัง ได้เห็นสร้างงานศิลปะโดยการวาดภาพและบรรยายถึงสิ่งที่มองเห็นและเรื่องราวเนื้อหาของภาพได้(ศ1.1 . 2/7)

มาตรฐาน ง1.1
-ทำงานได้ด้วยตนเอง แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและมีความระมัดระวังรอบคอบในการทำงาน (ง 1.1 . 2/3)
มาตรฐาน ง 2.1
-มีความคิดสร้างสรรค์สามารถนำสิ่งที่ได้ดูได้ฟัง และได้เห็นไปถ่ายทอดเป็นชิ้นงานภาพวาด รวมทั้งวางแผนล่วงหน้าในการเรียนได้ (ง 2.1 ป.2/4)
สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมฯ
หน้าที่พลเมือง
ประวัติศาสตร์
สุขศึกษาฯ
ศิลปศึกษา
การงานอาชีพฯ
-ความหมายและความสำคัญ
- สูตรทางเคมีของน้ำ H2O

มาตรฐาน ว1.1
-สามารถทดลองและอธิบายน้ำ อาหาร อากาศ แสง มีความสัมพันธ์กัน และเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต
 (ว1.1 .2/1)
-เข้าใจและสามารถอธิบายน้ำ อาหาร อากาศ  แสงมีความสัมพันธ์กัน และสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งสามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ (ว1.1 .2/2)
-เข้าใจและสามารถอธิบาย น้ำ อาหาร อากาศ  แสงเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อกระบวนการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต (ว1.1 .2/5)
มาตรฐาน ว 2.2
-สำรวจแหล่งน้ำและทรัพยากรธรรมชาติในโรงเรียน พร้อมทั้งอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งที่สำรวจได้
-ระบุการใช้ประโยชน์น้ำจากแหล่งต่างๆ รวมทั้งสามารถ
มาตรฐาน ว 8.1
-สามารถจัดกลุ่มข้อมูล เข้าใจและสามารถเปรียบเทียบรวมทั้งนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับความหมายความสำคัญของน้ำได้ ว 8.1 .2/4
มาตรฐาน ส 5.1
-เข้าใจและสามารถอธิบายปรากฏการณ์น้ำขึ้นน้ำลงและความสัมพันธ์ระหว่างโลก ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ (ส 5.1ป.2/3)
มาตรฐาน ส 2.1
-สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น เคารพในสิทธิเสรีภาพของตนเองและผู้อื่น (ส 2.1 ป.2/4)
-ระบุบทบาทหน้าที่ของตนเองและสมาชิกในกลุ่ม รวมทั้งมีอำนาจในการตัดสินใจในการทำงานและสามารถแสดงความคิดเห็นร่วมกับกลุ่มได้(ส2.2ป.2/1)

มาตรฐาน ส4.2
-อธิบายและระบุถึงผลกระทบของน้ำในด้านต่างๆต่อการเปลี่ยนแปลงที่มีต่อชุมชนของตนเอง (ส 4.3ป.2/2)
มาตรฐาน ส 4.3
-เข้าใจและสามารถอธิบายพร้อมยกตัวอย่างวัฒนธรรมประเพณีที่เกี่ยวข้องกับน้ำในชุมชนที่ควรอนุรักษ์ไว้ได้(ส  4.3 ป.2/2)

มาตรฐาน พ4.1
-เข้าใจและสามารถอธิบายความสำคัญของน้ำต่อร่างกาย รวมทั้งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน(พ 4.1 ป.2/1)
มาตรฐาน พ 5.1
-เข้าใจความสำคัญและอันตรายของน้ำ สามารถปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัย ที่อาจเกิดจากกิจกรรมทางน้ำ (พ 5.1 ป.2/1)
มาตรฐาน ศ 1.1
-สามารถวาดภาพสื่อความหมายความสำคัญของน้ำโดยใช้เส้น สี รูปร่าง รูปทรงในธรรมชาติ (ศ 1.1ป.2/2)
- เข้าใจและสามารถวาดภาพเพื่อสื่อเรื่องราวเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญของน้ำที่มีต่อตนเองและผู้อื่นรวมทั้งสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจ (ศ 1.1ป.2/6)
มาตรฐาน ศ 3.1
-เข้าใจและสามารถแสดงท่าทางและแสดงละครเพื่อนำเสนอเกี่ยวกับความสำคัญของน้ำให้ผู้อื่นเข้าใจ
(ศ 3.1 ป.2/2)
- มีมารยาทในการเป็นผู้ชมและผู้แสดงหรือผู้นำเสนอที่ดี(ศ 3.1 ป.2/5)
มาตรฐาน ง 1.1
-ใช้และสามารถระบุวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ในการทำงานได้อย่างเหมาะสมและประหยัด (ง 1.1 ป.2/2)
มาตรฐาน ง 3.1
-เข้าใจและสามารถรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือ รวมทั้งรู้จักการสืบค้นจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย (ง 3.1 ป.2/1)
สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมฯ
หน้าที่พลเมือง
ประวัติศาสตร์
สุขศึกษาฯ
ศิลปศึกษา
การงานอาชีพฯ
การเกิดและสมบัติของน้ำ
- แหล่งกำเนิด (น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน น้ำทะเล น้ำแข็ง)
- สมบัติ
- สถานะของน้ำ (ก๊าซ ของแข็ง ของเหลว)
- ประเภทของน้ำ (น้ำจืด น้ำเค็ม น้ำกร่อย)
- วัฏจักรของน้ำ

มาตรฐาน ว 1.1
- เข้าใจและสามารถอธิบายน้ำ อาหาร อากาศมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันและเป็นสิ่งสำคัญในการดำรงชีวิต(ว1.1ป.2/1-2)
- เข้าใจและสามารถอธิบาย น้ำ เป็นปัจจัยหนึ่งในกระบวนการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต (ว1.1ป.2/5)
มาตรฐาน ว 2.1
- สำรวจแหล่งน้ำในชุมชน โรงเรียนและอธิบายความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิต ระบบนิเวศน์รวมทั้งสิ่งแวดล้อมบริเวณนั้นแล้วสามารถอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ (ว 2.1ป.2/5)
มาตรฐาน ว 6.1
- สามารถสำรวจและจำแนกประเภทของดินที่มีผลต่อการกักเก็บแต่ละประเภทและเป็นแหล่งกำเนิดน้ำโดยใช้คุณสมบัติทางกายภาพเป็นเกณฑ์ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้(ว 6.1.2/1)
มาตรฐาน ว 7.1
- เข้าใจและสามารถบอก อธิบาย ระบุ ความสำคัญและประโยชน์ของดวงอาทิตย์ที่มีผลต่อการเกิดวัฏจักรของน้ำได้ (ว 7.1.2/1)

มาตรฐาน ส 5.2
- สามารถอธิบายความสำคัญและคุณค่าของน้ำต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและการดำรงชีวิตได้ (ส 5.1 ป.2/1)
- สามารถอธิบายความสัมพันธ์ของวัฏจักรน้ำที่สอดคล้องและสัมพันธ์กับการเกิดฤดูกาลต่างได้ (ส 5.1 2/3)
มาตรฐาน ส 2.1
- สามารถยอมรับความคิดเห็น และการปฏิบัติที่แตกต่างของบุคคลอื่นโดยไม่มีอคติ (ส 2.1 ป. 2/3)
- เคารพสิทธิของตนเองตนเองและไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น (ส 2.1 ป. 2/4)
มาตรฐาน ส 2.2
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง และสามารถระบุหน้าที่นั้น รวมทั้งสามารถยอมรับและปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเองได้ (ส 2.2 ป. 2/2)

มาตรฐาน ส 4.2
อธิบายผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเรื่องน้ำที่มีผลต่อการใช้ชีวิตในชุมชน(ส 4.2. . 2/2)
-เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของวัฒนธรรมชุมชนที่เกี่ยวข้องกับน้ำในอดีตและปัจจุบัน (ส 4.2. . 3/3)

มาตรฐาน พ4.1
-เข้าใจและสามารถอธิบายความสำคัญของน้ำต่อร่างกาย รวมทั้งสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน(พ 4.1 ป.2/1)
มาตรฐาน พ 5.1
-เข้าใจความสำคัญและอันตรายของน้ำ สามารถปฏิบัติตนเพื่อความปลอดภัย ที่อาจเกิดจากกิจกรรมทางน้ำ (พ 5.1 ป.2/1)
มาตรฐาน ศ 1.1
-สามารถวาดภาพสื่อความหมายความสำคัญของน้ำโดยใช้เส้น สี รูปร่าง รูปทรงในธรรมชาติ (ศ 1.1ป.2/2)
- เข้าใจและสามารถวาดภาพเพื่อสื่อเรื่องราวเกี่ยวกับความหมาย ความสำคัญและวัฏจักรของน้ำที่มีต่อตนเองและผู้อื่นรวมทั้งสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจ (ศ 1.1ป.2/6)
มาตรฐาน ศ 3.1
-เข้าใจและสามารถแสดงท่าทางและแสดงละครเพื่อนำเสนอเกี่ยวกับความสำคัญของน้ำให้ผู้อื่นเข้าใจ
(ศ 3.1 ป.2/2)
- มีมารยาทในการเป็นผู้ชมและผู้แสดงหรือผู้นำเสนอที่ดี(ศ 3.1 ป.2/5)
มาตรฐาน ง 1.1
-ใช้และสามารถระบุวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ในการทำงานได้อย่างเหมาะสมและประหยัด (ง 1.1 ป.2/2)
-ปฏิบัติตนอย่างมีมารยาทในการทำงานสามารถทำงานได้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีความรับผิดชอบ
(ง 1.1 ป.4/2-3)
มาตรฐาน ง 2.1
-มีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบชิ้นงานและสามารถนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้(ง 2.1 ป.2/4)
มาตรฐาน ง 3.1
เข้าใจและสามารถรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือ รวมทั้งรู้จักการสืบค้นจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย (ง 3.1 ป.2/1)
สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมฯ
หน้าที่พลเมือง
ประวัติศาสตร์
สุขศึกษาฯ
ศิลปศึกษา
การงานอาชีพฯ
ประโยชน์ของน้ำ
  การดำรงชีวิต
- ครัวเรือน
- ชีวิตประจำวัน
 เศรษฐกิจ
-การเกษตร
- อุตสาหกรรม
- การคมนาคม การขนส่ง
- กิจกรรมนันทนาการ
การอนุรักษ์น้ำและทรัพยากร
ธรรมชาติ

มาตรฐาน  ว 2.2
- เข้าใจและสามารถอธิบายประโยชน์และความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงทรัพยากรน้ำที่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตบนโลกได้( ว 2.1 .3/1)
 - เข้าใจและสามารถอธิบาย รวมทั้งระบุการใช้ประโยชน์จากน้ำที่มีผลต่อ สุขภาพ และโลกได้
(ว 2.2 .3/2)
- เข้าใจและสามารถบอกผลของการใช้น้ำที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติได้  (ว 2.2 .6/3)
- เข้าใจและสามารถบอกแนวทางการใช้ ดูแลรักษาแหล่งน้ำและทรัพยากรธรรมชาติที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน รวมทั้งมีส่วนร่วมในการดูแลและร่วมฟื้นฟู (ว 2.2 .6/4)
- เข้าใจและสามารถวิเคราะห์และอธิบายการใช้น้ำและทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนและเกิดประโยชน์สูงสุด (ว 2.2 .3/1)
มาตรฐาน ส 5.1
-เข้าใจความสำคัญของน้ำ เห็นคุณค่าและความสำคัญของน้ำที่มีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
(ส 5.2 ป.2/1)
-สามารถใช้น้ำได้อย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด(ส 5.2 ป.2/3)
-มีส่วนร่วมในการดูแลและร่วมฟื้นฟูแหล่งน้ำรวมทั้งปรับปรุงสภาพแวดล้อมในโรงเรียนให้เหมาะสมและไม่ก่อให้เกิดมลพิษ (ส 5.2 ป.2/4)
มาตรฐาน ส 5.2
-เข้าใจและสามารถอธิบายการใช้ประโยชน์และการพึ่งพาน้ำและทรัพยากรธรรมชาติในการสนองความต้องการพื้นฐานของมนุษย์และการประกอบอาชีพ(ส 5.2 ป.3/2)
มาตรฐาน ส 2.2
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง และสามารถระบุหน้าที่นั้น รวมทั้งสามารถยอมรับและปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเองได้ (ส 2.2 ป. 2/2)

มาตรฐาน ส 4.2
อธิบายผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเรื่องน้ำที่มีผลต่อการใช้ชีวิตในชุมชน(ส 4.2. . 2/2)
-เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของวัฒนธรรมชุมชนที่เกี่ยวข้องกับน้ำในอดีตและปัจจุบัน (ส 4.2. . 3/3)

มาตรฐาน พ 2.1
- มีความภาคภูมิใจในตนเอง สามารถเป็นส่วนหนึ่งของทีม และมั่นใจในการแสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนและการทำกิจรรม (พ 2.1 ป.2/4)
มาตรฐาน พ 4.1
- สามารถอธิบายความสัมพันธ์และผลกระทบของการใช้น้ำที่ส่งผลต่อทรัพยากรธรรมชาติที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุภาพร่างกาย  (พ 4.1 ป.4/1)
มาตรฐาน พ5.1
-สามารถบอก อธิบายวิธีการป้องกันและดูแลความปลอดภัยจากอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นทางน้ำได้(พ 5.1 ป.2/1)
มาตรฐาน ศ 1.1
-สามารถสร้างสรรค์ผลงานภาพโปสเตอร์เพื่อการรณรงค์และอนุรักษ์น้ำและทรัพยากรธรรมชาติ
(ศ1.1 2/3)
-เข้าใจและสามารถสร้างแบบจำลองความสัมพันธ์ของน้ำและสิ่งแวดล้อมแล้วสามารถอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจได้ (ศ1.1 2/4)

มาตรฐาน ง 1.1
- ใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการทำงานอย่างเหมาะสมกับงาน ( ง 1.1 ป.2/2)
- ใช้พลังงานและทรัพยากรในการทำงานอย่างประหยัด คุ้มค่าและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ง 1.1 ป. 4/4)
มาตรฐาน ง 2.1
- มีการจัดการสิ่งของเครื่องใช้ ด้วยการลดการใช้ทรัพยากร หรือเลือกใช้ทรัพยากรที่ไม่ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมีคุณสมบัติ ตรงตามการใช้งาน(ง 2.1 ป. 3/3)

สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมฯ
หน้าที่พลเมือง
ประวัติศาสตร์
สุขศึกษาฯ
ศิลปศึกษา
การงานอาชีพฯ
ความสัมพันธ์ของน้ำต่อสิ่งมีชีวิตและโลก
ปัญหาและผลกระทบ(ผลกระทบของการเสียสมดุลของปริมาณน้ำและทรัพยากรอื่นๆของโลก)
   - สุขภาพ
   - โลก
วิกฤตน้ำและทรัพยากรโลก
   - น้ำในชีวิตประจำวัน(บ้าน โรงเรียน ชุมชน)
   - น้ำในประเทศ ภูมิภาค
   - น้ำในเขตพื้นที่ต่างๆในโลก  
ความสัมพันธ์ของน้ำต่อโลกและสิ่งมีชีวิตในอนาคต
มาตรฐาน ว 2.2
-เข้าใจและสามารถอภิปรายวิกฤติน้ำที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและอาจส่งผลต่ออนาคต รวมทั้งวิเคราะห์และนำเสนอการใช้น้ำและทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด(ว 2.2 ป.2/3)
- เข้าใจและสามารถวิเคราะห์ผลของการเพิ่มขึ้นของประชากรมนุษย์ต่อการใช้น้ำและทรัพยากรธรรมชาติ (ว 2.2 ป.6/2)
มาตรฐาน ว 8.1
-สามารถจัดกลุ่มข้อมูลเกี่ยวกับวิกฤติน้ำด้านต่างๆในปัจจุบันเปรียบเทียบและนำเสนอผล (ว 8.1.2/4)
- เข้าใจและสามารถวิเคราะห์และอธิบายแนวโน้มความต้องการใช้ประโยชน์จากน้ำในอนาคต (ว 8.1.2/6)
มาตรฐาน ส 5.1
- เข้าใจและสามารถวิเคราะห์เชื่อมโยงสาเหตุและผลกระทบของการเสียสมดุลของปริมาณน้ำและแนวทางป้องกันภัยธรรมชาติทางน้ำที่เกิดจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในอนาคต
(ส 5.1 ป.5/3)
มาตรฐาน ส 5.2
- เข้าใจและสามารถนำเสนอตัวอย่างและผลกระทบของการทำลายแหล่งต้นน้ำและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อน้ำที่มีผลกระทบต่อมนุษย์และสิ่งมีชีวิตทั้งในปัจจุบันและอนาคต (ส 5.2 ป.5/3)
- สามารถวิเคราะห์และอธิบายเกี่ยวกับมลพิษทางน้ำและการก่อให้เกิดมลพิษจากกระบวนการผลิตและใช้ประโยชน์จากน้ำและทรัพยากรธรรมชาติ
(ส 5.2 ป.3/3)
- สามารถนำเสนอตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึงการใช้น้ำและทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและผลกระทบจากการใช้น้ำทรัพยากรธรรมชาติและพลังงานสิ้นเปลืองทั้งในปัจจุบันและอนาคต
(ส 5.2 ป.5/3)

มาตรฐาน ส 2.2
- รู้บทบาทหน้าที่ของตนเอง และสามารถระบุหน้าที่นั้น รวมทั้งสามารถยอมรับและปฏิบัติตามหน้าที่ของตนเองได้ (ส 2.2 ป. 2/2)

มาตรฐาน ส 4.2
อธิบายผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเรื่องน้ำที่มีผลต่อการใช้ชีวิตในชุมชน(ส 4.2. . 2/2)
-เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของวัฒนธรรมชุมชนที่เกี่ยวข้องกับน้ำในอดีตและปัจจุบัน (ส 4.2. . 3/3)

มาตรฐาน พ 2.1
- มีความภาคภูมิใจในตนเอง สามารถเป็นส่วนหนึ่งของทีม และมั่นใจในการแสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนและการทำกิจรรม (พ 2.1 ป.2/4)
มาตรฐาน พ 4.1
- เข้าใจและสามารถอธิบายความสัมพันธ์และผลกระทบของการใช้น้ำและทรัพยากรธรรมชาติที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุภาพร่างกาย รวมทั้งส่งผลกระทบต่อโลกได้  (พ 4.1 ป.4/1)
- สามารถป้องกันและแก้ปัญหาการใช้น้ำและทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อสุขภาพ (พ 4.1ป.6/1)
มาตรฐาน ศ 1.1
-เข้าใจและสามารถออกแบบภาพประกอบการใช้น้ำและอุปกรณ์การบรรจุน้ำในอดีต ปัจจุบันและอนาคต (ศ1.1 ป.2/3)
-สร้างสรรค์ภาพผลงานประกอบนิทานการใช้น้ำในปัจจุบันและอนาคตพร้อมทั้งสามารถนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้(ศ1.1 ป.2/6)
-ใช้วัสดุอุปกรณ์ในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ได้อย่างเหมาะสม(ศ1.1 ป.2/4)
มาตรฐาน ง 1.1
- ใช้วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือในการทำงานอย่างเหมาะสมกับงาน ( ง 1.1 ป.2/2)
- สามารถทำงานได้ด้วยตนเองอย่างรอบคอบและปลอดภัย
( ง 1.1 ป.2/3)
- ใช้พลังงานและทรัพยากรในการทำงานอย่างประหยัด คุ้มค่าและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (ง 1.1 ป. 4/4)
มาตรฐาน ง 2.1
- มีการจัดการสิ่งของเครื่องใช้ ด้วยการลดการใช้ทรัพยากร หรือเลือกใช้ทรัพยากรที่ไม่ส่งผลกระทบต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และมีคุณสมบัติ ตรงตามการใช้งาน(ง 2.1 ป. 3/3)
สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมฯ
หน้าที่พลเมือง
ประวัติศาสตร์
สุขศึกษาฯ
ศิลปศึกษา
การงานอาชีพฯ
สรุปการเรียนรู้
-วิเคราะห์สิ่งที่อยากเรียนรู้
-สิ่งที่ดีแล้ว สิ่งที่ควรปรับปรุง
- Mind Mapping หลังเรียนรู้
-นำเสนอการเรียนรู้
มาตรฐาน ว 8.1 
- ใช้กระบวนการการทางวิทยาศาสตร์ ตั้งคำถามและหาคำตอบเกี่ยวกับน้ำในปัจจุบันและอนาคตผ่านการทำชิ้นงานแผนภาพความคิดและการแสดงแล้วนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจสิ่งที่ตนเองศึกษา(ว8.1 ป.2/1)
- จัดกลุ่มข้อมูลเปรียบเทียบและนำเสนอผลการศึกษาเรียนรู้ แสดงความคิดเห็นเป็นกลุ่มรวบรวม และสรุปความรู้จากสิ่งที่อยากเรียนรู้พร้อมทั้งระบุสิ่งที่ดีแล้วและสิ่งที่ควรปรับปรุงในการเรียนรู้ได้  (ว8.1 ป.2/4-6)
- บันทึกและอธิบายผลการศึกษาค้นคว้า การตรวจสอบ โดยสรุปเป็นMind Mapping หรือคำอธิบาย แล้วนำเสนอผลงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้  (ว8.1 ป.2/7-8)

มาตรฐาน ส 1.1
-ชื่นชมและให้กำลังใจเมื่อเพื่อนหรือสมาชิกกระทำสิ่งที่เหมาะสมอย่างจริงใจ (ส 1.1 ป.2/5)
มาตรฐาน ส 1.2
ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานร่วมกับผู้อื่นตามหน้าที่ของตน(ส 1.2 ป.2/1)
มาตรฐาน ส2.1
- ยอมรับในความคิด และความเชื่อของของผู้อื่นที่มีความแตกต่างจากตนเองในการเลือกและกำหนดสิ่งที่อยากเรียนรู้ (ส 2.1 . 2/3)
- เคารพและให้เกียรติในสิทธิและเสรีภาพของตนเองและผู้อื่นในการเลือกและตัดสินใจ (ส 2.1 . 2/4)
มาตรฐาน ส 4.2
อธิบายผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเรื่องน้ำที่มีผลต่อการใช้ชีวิตในชุมชน(ส 4.2. . 2/2)
-เปรียบเทียบความเหมือนและความแตกต่างของวัฒนธรรมชุมชนที่เกี่ยวข้องกับน้ำในอดีตและปัจจุบัน (ส 4.2. . 3/3)

มาตรฐาน พ2.1
- ระบุบทบาทหน้าที่ของตนเองต่อสมาชิกในกลุ่มและเพื่อนร่วมชั้นในการวางแผนสรุปการเรียนรู้ (พ 2.1 . 2/1)
- ให้เกียรติและบอกความสำคัญของเพื่อนต่อกระบวนการเรียน การทำงาน รวมทั้งการทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันได้(พ 2.1 . 3/2)

มาตรฐาน ศ 1.1
-สามารถสร้างสรรค์ผลงานและออกแบบฉากประกอบการแสดงได้
(ศ1.1 ป.2/7)
มาตรฐาน ศ 2.1
-สามารถร้องเพลงประกอบการแสดงสรุปการเรียนรู้ พร้อมทั้งเคลื่อนไหวท่าทางได้เหมาะสมสอดคล้องกับเพลงที่ร้อง (ศ2.1 ป.3/5)
มาตรฐาน ศ 3.1
-มีมารยาทในการเป็นผู้ชมและผู้แสดงที่เหมาะสม(ศ3.1 ป.2/5)

มาตรฐาน ง1.1
-ทำงานได้ด้วยตนเอง แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นและมีความระมัดระวังรอบคอบในการทำงาน (ง 1.1 . 2/3)
มาตรฐาน ง 2.1
-มีความคิดสร้างสรรค์สามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจได้ (ง 2.1 ป.2/4)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น