เป้าหมาย (Understanding Goal) : เข้าใจเห็นคุณค่าของน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก และมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติอื่นและวิถีชีวิตของมนุษย์ มีแนวทางในการใช้ประโยชน์จากน้ำและ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

Week3



เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจสมบัติของน้ำ และของเหลวอื่นๆ สามารถแยกและอธิบายสมบัติของน้ำ ของของเหลวอื่นแล้วสรุปอธิบายให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ นำไปปรับใช้กับตนเองได้อย่างเหมาะสม

Week
Input
Process
Output
Outcome








3

25-29
ม.ค.
59

โจทย์
แยกน้ำและน้ำมัน
คำถาม
- เราจะแยกน้ำกับของเหลวอื่นอย่างไร
- จะแยกน้ำมันออกจากน้ำได้อย่างไร
- ถ้าร่างกายของเราขาดน้ำจะเป็นอย่างไร

เครื่องมือคิด
- Black Board Share สิ่งที่น้ำสามารถละลายได้
- Fish Bone สมบัติของน้ำ
- Place mat น้ำละลายสิ่งใดได้บ้าง มีความสำคัญอย่างไร
-  Wall Thinking ผลงานชาร์ตความรู้
- Mind Mapping
- Key Question คำถามกระตุ้นคิดระว่างการเรียนรู้ การทำกิจกรรมการทดลองเพื่อชวนคิดและแก้ปัญหา
จันทร์
ชง :
- ครูพานักเรียนทำกิจกรมทดลองน้ำเป็นตัวทำละลาย (เกลือ น้ำตาล สี) ระหว่างการทดลอง นักเรียนสังเกตกระบวนการและบันทึกผลการทดลองลงในสมุด
เชื่อม :
- นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสมบัติของน้ำจากกิจกรรมการทดลอง (เป็นตัวทำละลาย)
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนคิดว่านอกจากน้ำที่สามารถละลายสิ่งที่ทดลองไปแล้วนั้น สามารถละลายอะไรได้อีกบ้าง การละลายส่งผลอย่างไร เกี่ยวข้องกับเราอย่างไร”
- นักเรียนแบ่งกลุ่มระดมความคิดและแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสมบัติของน้ำ (ตัวทำละลาย)
*** การบ้าน : ให้นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่ม เตรียมอุปกรณ์การทดลอง น้ำผึ้ง นม น้ำยาล้างจาน น้ำเปล่า น้ำมันพืช แอลกอฮอล์ เพื่อนำมาใช้ในวันอังคาร
อังคาร
ชง :
นักเรียนแต่ละกลุ่มทดลองความหนาแน่นของน้ำและของเหลว (น้ำและของของเหลวมีความหนาแน่นแตกต่างกัน) น้ำผึ้ง นม น้ำยาล้างจาน น้ำเปล่า น้ำมันพืช แอลกอฮอล์ : นักเรียนสังเกตความแตกต่าง บันทึกสรุปผลเป็นข้อความภาพเป็นระยะระหว่างการทดลอง
เชื่อม :
ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนแยกของเหลวอื่นกับน้ำอย่างไร”  น้ำมัน น้ำผึ้ง นม ฯลฯ ต่างจากน้ำอย่างไร” นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยน
ภาระงาน
-ทดลองและวิเคราะห์ สมบัติของน้ำ บันทึกผลการทดลอง (ความหนาแน่น อุณหภูมิ การไหล ตัวทำละลาย)
- ศึกษาค้นคว้าสมบัติของน้ำ
-วิเคราะห์ถ้าเราไม่ดื่มน้ำร่างกายจะเป็นอย่างไรเพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

ชิ้นงาน
- แบบสรุปบันทึกผลการทดลอง
-ชาร์ตความรู้
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจสมบัติของน้ำ และของเหลวอื่นๆ สามารถแยกและอธิบายสมบัติของน้ำ ของของเหลวอื่นแล้วสรุปอธิบายให้ผู้อื่นร่วมเรียนรู้ นำไปปรับใช้กับตนเองได้อย่างเหมาะสม
ทักษะ :
ทักษะชีวิต
- สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
- มีความยืดหยุ่นต่อการเรียนรู้ การทำงานเพื่อให้ได้เครื่องในการแก้ปัญหาที่หลากหลาย
ทักษะการสื่อสาร
- สามารถนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจผ่าน กิจกรรมที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจผ่าน กิจกรรมที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทักษะ ICT
เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์


Week
Input
Process
Output
Outcome

สื่อ/แหล่งเรียนรู้
- อินเทอร์เน็ต
- อุปกรณ์การทดลอง (น้ำผึ้ง นม น้ำยาล้างจาน น้ำเปล่า น้ำมันพืช แอลกอฮอล์)
สรุปผลสิ่งที่แลกเปลี่ยนลงในสมุดบันทึก
พุธ
ชง :
- ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะแยกน้ำกับน้ำมันอย่างไร”
- นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่มศึกษาค้นคว้าข้อมูลการแยกน้ำกับน้ำมัน ทดลองแยกน้ำกับน้ำมัน แล้วแลกเปลี่ยนกับเพื่อนและครู
- ครูพานักเรียนต้มน้ำมันสังเกตจุดเดือดของน้ำมัน จุดเดือดของน้ำ  แล้วสนทนาแลกเปลี่ยน เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
เชื่อม :
- ครู นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสมบัติของน้ำ โดยสรุปผ่านเครื่องมือ (Placemat)
ศุกร์
ชง:
-นักเรียนแบ่งกลุ่ม ทดสอบการไหลของน้ำ และของเหลวอื่น (น้ำมัน เจล ครีม น้ำเชื่อม ฯลฯ) บันทึกผลการทดสอบเป็นภาพ ประกอบข้อความ
-นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสมบัติของน้ำและของเหลว
เชื่อม :
นักเรียนแต่ละกลุ่มสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสมบัติของน้ำและของเหลว
ใช้:
- นักเรียนแต่ละกลุ่มสรุปสมบัติของน้ำเป็นชาร์ตความรู้
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
-สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น แนวคิดหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ของผู้อื่น มีการระดมความคิด ในการทำงาน การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
- เป็นผู้นำ ผู้ตามในการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจต่อสถานการณ์ใหม่ๆ ยอมรับความคิดและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและหาแนวทางแก้ไขและพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ประยุกต์ละนำไปใช้จากสิ่งที่เรียนรู้ และคิดริเริ่มวิธีการ/แนวทางใหม่ ๆ   ในการทำชิ้นงาน ภาระงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

คุณลักษณะ
-มีเป้าหมายในการทำงาน
- รู้จักตนเอง
- เห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้อื่น
- เคารพ ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย
ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน                    








1 ความคิดเห็น:

  1. นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมการทดลองการแยกน้ำกับน้ำมันและของเหลวอื่น ผ่านกิจกรรมการทดลองนำของเหลวที่มีความหนาแน่นแตกต่างกันมาใส่ในภาชนะเดียวกันแล้วสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงว่าเป็นอย่างไรบ้าง ของเหลวชนิดใดที่มีความหนาแน่นมากหรือน้อยเราจะสามารถสังเกตได้จากอะไร นักเรียนสามารถทำกิจกรรมการทดลองและสามารถบอกได้ว่าของเหลว (น้ำมันพืช น้ำมันเครื่อง นม แอลกอฮอล์ น้ำเปล่า น้ำผึ้ง )ชนิดใดมีความหนาแน่นมากหรือน้อย โดยการตั้งข้อสังเกตว่าของเหลวที่หนานแน่นมากจะอยู่ล่าง และของเหลวที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าจะอยู่ด้านบน ในขณะที่นักเรียนทำการทดลองครูให้นักเรียนฝึกการบันทึกผลการทดลองและสรุปผลการทดลองด้วยตนเอง นักเรียนสามารถสรุปผลการทดลองและสามารถบอกและอธิบายน้ำกับน้ำมันได้ว่าน้ำมันไม่ใช้น้ำ น้ำมันเป็นของเหลว แอลกอฮอล์เป็นของเหลว และน้ำกับน้ำมันจะไม่รวมตัวกัน น้ำมันจะหนาแน่นน้อยกว่าและลอยตัวบนน้ำได้
    เมื่อนักเรียนทำการทำลองเกี่ยวกับความหนาแน่นแล้วนักเรียนช่วยกันวิเคราะห์ว่า อะไรที่เป็นน้ำและอะไรที่เป็นของเหลว เป็นน้ำมัน พี่แก้ม พี่ออมสิน : น้ำก็เป็นของเหลว แต่น้ำมันไม่ใช่น้ำ น้ำมันเป็นของเหลว , พี่โซ่ : เลือดเราก็เป็นของเหลวใช่ไหมครับครู นักเรียนสามารถวิเคราะห์แยกของเหลวได้เช่น แอลกอฮอล์เป็นของเหลว แต่มันระเหยได้ , น้ำผึ่งเป็นของเหลว ไม่ใช่น้ำ แต่น้ำผึ่งละลายในน้ำได้ เป็นต้น เมื่อนักเรียนสรุปสิ่งที่ทดลองแล้วนักเรียนจึงศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับน้ำ และการเกิดน้ำเพิ่มเติม ช่วยกันวิเคราะห์สรุปว่าน้ำแตกต่างจากของเหลวอื่นอย่างไร มีที่มาจากไหน เกิดขึ้นได้อย่างไร โดยสรุปเป็นชาร์ตความรู้

    ตอบลบ