เป้าหมาย (Understanding Goal) : เข้าใจเห็นคุณค่าของน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก และมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติอื่นและวิถีชีวิตของมนุษย์ มีแนวทางในการใช้ประโยชน์จากน้ำและ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

Week7

 เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจสมบัติของน้ำ สถานะของน้ำที่อยู่ในสถานะต่างๆ สามารถอธิบายการหายไปของน้ำในร่างกายของตนเองของสิ่งมีชีวิต สามารถ นำมาประยุกต์ใช้กับตนเองในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม

Week
Input
Process
Output
Outcome


7

22-26
ก.พ.
59

วันจันทร์หยุดวันมาฆบูชา


โจทย์
ทำให้น้ำแข็งไม่ละลาย/ละลายช้า

คำถาม
-นักเรียนจะทำให้น้ำแข็งไม่ละลายหรือละลายช้าได้อย่างไร
 - เพราะเหตุใดเราจึงรู้สึกกระหายน้ำ
- เราควรดื่มน้ำเมื่อใด เพราะเหตุใด
- นักเรียนจะมีวิธีการสร้างแรงบันดาลใจหรือกระตุ้นให้ผู้อื่นดูแลและตระหนักถึงการใช้น้ำอย่างคุ้มค่าอย่างไร


จันทร์
ชง:
- นักเรียนทดลองสังเกตอุณหภูมิและการจับตัวกันของน้ำ “การจับตัวของน้ำแข็ง”
-ครูตั้งคำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะทำให้น้ำแข็งไม่ละลายหรือละลายช้าได้อย่างไร”นักเรียนศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการเก็บน้ำแข็งให้อยู่นาน(ละลายช้า) ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นฉนวน(กันความร้อน)
เชื่อม:
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการทำให้น้ำแข็งไม่ละลาย หรือทำให้น้ำแข็งละลายช้าๆ(สิ่งใดที่สามารถเป็นฉนวนป้องกันไม่ให้ความร้อนทำให้น้ำแข็งละลาย)
อังคาร
ชง:
- ทดลองการกระจายตัวของน้ำร้อนและน้ำเย็น (การแตกตัวของโมเลกุลในน้ำ)
- นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่ม แต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับฉนวนกันความร้อนที่ครูให้นักเรียนศึกษาค้นคว้าเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา
- ครูให้น้ำแข็งนักเรียนคนละ1 ก้อน หาวิธีทำให้น้ำแข็งละลายช้าที่สุด
เชื่อม:
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับกิจกรรมการทดลอง(ทำให้น้ำแข็งละลายช้า)
ภาระงาน
- ทดลองอุณหภูมิและการจับตัวกันของน้ำ “การจับตัวของน้ำแข็ง”
- ทดลอง หาวิธีการไม่ให้น้ำแข็งละลาย
- ทดลองการกระจายตัวของน้ำร้อนและน้ำเย็น (การแตกตัวของโมเลกุลในน้ำ)
- ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการดื่มน้ำ รวมทั้งปริมาณน้ำที่ร่างกายของเราต้องการในแต่ละวัน
- วิเคราะห์เกี่ยวกับการดื่มน้ำ น้ำปกติ น้ำอุ่น น้ำเย็น ดื่มน้ำอย่างไรดีต่อร่างกาย



ความรู้
เข้าใจสมบัติของน้ำ สถานะของน้ำที่อยู่ในสถานะต่างๆ สามารถอธิบายการหายไปของน้ำในร่างกายของตนเองของสิ่งมีชีวิต สามารถ นำมาประยุกต์ใช้กับตนเองในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
- มีความยืดหยุ่นต่อการเรียนรู้ การทำงานเพื่อให้ได้เครื่องในการแก้ปัญหาที่หลากหลาย
ทักษะการสื่อสาร
- สามารถนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจผ่าน กิจกรรมที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจผ่าน กิจกรรมที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทักษะ ICT
เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์


Week
Input
Process
Output
Outcome








7

22-26
ก.พ.
59

เครื่องมือคิด
- Blackboard Share สิ่งที่เป็นฉนวนกันความร้อน
- Brainstorm การทำให้น้ำแข็งละลายช้า
-  Wall Thinking ชาร์ตความรู้ นิทาน
- ชักเย่อความคิด ดื่มน้ำธรรมดาดีกว่าน้ำเย็น
- Key Question ระหว่างการทดลองการแตกตัวและการละลายของน้ำแข็ง
- Round Robin สิ่งที่จะนำไปปรับใช้และวิธีการเก็บความเย็น

สื่อ-แหล่งเรียนรู้
- อินเทอร์เน็ต
วันพุธ
ชง:
- นักเรียนทำชักเย่อความคิดดื่มน้ำธรรมดาดีกว่าน้ำเย็น- นักเรียนศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการดื่มน้ำ รวมทั้งปริมาณน้ำที่ร่างกายของเราต้องการในแต่ละวัน
- นักเรียนวิเคราะห์เกี่ยวกับการดื่มน้ำ น้ำปกติ น้ำอุ่น น้ำเย็น ดื่มน้ำอย่างไรดีต่อร่างกาย
เชื่อม:
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับปริมาณน้ำที่ร่างกายต้องการ
ใช้:
นักเรียนสรุปปริมาณน้ำที่ร่างกายต้องการในรูปแบบที่หลากหลาย โดยเลือกตามความสนใจของตนเอง เช่นชาร์ตความรู้ อินโฟลว์กราฟิก การ์ตูนช่อง
 ศุกร์
ใช้: (ต่อจากวันพุธ)
- นักเรียนสรุปปริมาณน้ำที่ร่างกายต้องการในรูปแบบที่หลากหลาย โดยเลือกตามความสนใจของตนเอง เช่นชาร์ตความรู้ อินโฟลว์กราฟิก การ์ตูนช่อง
- นักเรียนนำเสนอผลงานและสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ชิ้นงาน
-ชาร์ตความรู้ อินโฟลว์กราฟิก การ์ตูนช่อง
(เลือกตามความสนใจ)
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
-สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น แนวคิดหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ของผู้อื่น มีการระดมความคิด ในการทำงาน การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
- เป็นผู้นำ ผู้ตามในการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจต่อสถานการณ์ใหม่ๆ ยอมรับความคิดและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและหาแนวทางแก้ไขและพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ประยุกต์ละนำไปใช้จากสิ่งที่เรียนรู้ และคิดริเริ่มวิธีการ/แนวทางใหม่ ๆ   ในการทำชิ้นงาน ภาระงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
คุณลักษณะ
-มีเป้าหมายในการทำงาน
- รู้จักตนเอง
- เห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้อื่น
- เคารพ ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย

ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน



1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้พี่ๆเรียนรู้เกี่ยวกับสมบัติของน้ำ สถานะของน้ำที่สามารถเป็นได้ทั้งของแข็ง ของเหลว และก๊าซ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักเรียนมีความเข้าใจและสามารถนำสมบัติและสถานะของน้ำไปใช้ในการออกแบบและแก้ปัญหาเกี่ยวกับการใช้น้ำในกิจกรรมการเรียนรู้ได้หลากหลาย เช่น การปลูกพืช การกรอง การกลั่นน้ำ ซึ่งกิจกรรมนั้นทำให้พี่ๆได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นชัดเจน จากโจทย์ “จะทำให้น้ำแข็งละลายช้าได้อย่างไร ทำให้พี่ๆช่วยกันหาวิธีที่จะป้องกันให้น้ำแข็งละลายเช่นยางกลุ่มนำกระดาษมาหุ้มหลายๆชั้นเพื่อป้องการความเย็นระเหยออก บางกลุ่มนำไปใส่แก้ว ใส่ขวดพลาสติก บางกลุ่มนำใบไม้มาหุ้มไว้ ซึ่งระหว่างรอผลการทดลองพี่ได้ช่วยกันศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับฉนวนเพิ่มเติม บางคนเสนอว่าสิ่งที่เป็นฉนวนได้นั้นน่าจะเป็น โฟม กระดาษ พลาสติก ฟรอย (“หนูเคยเห็นกระติกน้ำที่แตกน่ะค่ะมีโฟมอยู่ข้างในกระติกด้วย”: พี่ปลายบอก )
    การทดลองการละลายของน้ำแข็งยังไม่ได้พัฒนาต่อ แต่พี่ๆเตรียมอุปกรณ์สำหรับการปรับปรุงและพัฒนาอุปกรณ์ หรือภาชนะที่จะทำให้น้ำแข็งละลายช้ามาแล้ว เพราะสัปดาห์นี้มีวันหยุดหนึ่งวัน และวันศุกร์พี่ๆมีกิจกรรมเรียนรู้นอกห้องเรียนและกิจกรรมน้ำเปลี่ยนรูปจากกิจกรรมผู้ปกครองอาสาซึ่งเราจะนำไปเรียนรู้อีกครั้งในสัปดาห์ที่ ๘
    พี่ๆป.๒ได้ไปเรียนรู้การจัดการและการบำบัดน้ำเสียในโรงพยาบาลก่อนปล่อยลงสู่ชุมชนและการผลิตและแจกจ่ายน้ำประปาของเทศบาล ซึ่งนักเรียนกระตือรือร้นและสนใจกิจกรรมการเรียนรู้ สามารถตั้งคำถามในสิ่งที่สงสัยและสนุกกับการเรียนรู้

    ตอบลบ