เป้าหมาย (Understanding Goal) : เข้าใจเห็นคุณค่าของน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก และมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติอื่นและวิถีชีวิตของมนุษย์ มีแนวทางในการใช้ประโยชน์จากน้ำและ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

week6

เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจและสามารถแก้ปัญหาน้ำสกปรก น้ำเค็มให้เป็นน้ำสะอาดและสามารถนำมาดื่มได้ สามารถออกแบบและประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำ รวมทั้งมีวิธีการ มีแนวทางในการป้องกันและดูแลแหล่งน้ำได้อย่างเหมาะสม
Week
Input
Process
Output
Outcome



6

15-19
ก.พ.
59
โจทย์
ทำน้ำเค็มให้ดื่มได้
คำถาม
-เราสามารถทำน้ำขุ่นน้ำสกปรก น้ำที่เป็นตะกอน หรือน้ำเค็มให้เป็นน้ำสะอาดและดื่มได้อย่างไร
-นักเรียนจะมีวิธีการบำบัดน้ำเสียได้อย่างไร
เครื่องมือคิด
- Blackboard Share แหล่งน้ำในโรงเรียนและชุมชน
- Brainstorm การทำน้ำเค็มให้จืด นำน้ำสกปรกให้ดื่มได้
-  Wall Thinking ชาร์ตความรู้แหล่งน้ำ
-Place mat แหล่งน้ำและการใช้น้ำอย่างคุ้มค่า
- Show & Share การกรองน้ำเค็มให้จืด ทำน้ำสกปรกให้สะอาด
- ชักเย่อความคิด น้ำขวดดีกว่าน้ำจากเครื่องกรอง
จันทร์
ชง:
-นักเรียนดูคลิปวิดีโอระบบน้ำประปา “รู้ให้ครบ ระบบน้ำใช้”  ระหว่างดูนักเรียนและครูสนทนาเกี่ยวกับสิ่งที่ดู
-นักเรียนศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับแหล่งน้ำ (น้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน ทะเล ทะเลสาบ)
เชื่อม :
-สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับคลิปวีดีโอที่ดู และแหล่งน้ำแหล่งต่างๆ เราสามารถนำน้ำจากแหล่งต่างๆมาใช้ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์เหมาะสมอย่างไร นักเรียนคิดอย่างไรเกี่ยวกับการเข้าถึงน้ำสะอาด
อังคาร
ชง:
-นักเรียนทำชักเย่อความคิดน้ำขวดสะอาดกว่าน้ำกรอง จริงหรือ
-นักเรียนทำเครื่องกรองน้ำสกปรกให้เป็นน้ำสะอาด(พัฒนาจากสัปดาห์ที่ 5) และทำเครื่องกรองน้ำเค็มให้เป็นน้ำสะอาดดื่มได้
ทดลองปรับปรุงจนได้ตามเป้าหมายที่วางแผนไว้
เชื่อม :
นักเรียนจับฉลากแบ่งกลุ่ม  วิเคราะห์สรุปเกี่ยวกับการทำเครื่องกรองน้ำเค็ม น้ำสกปรกอย่างง่ายของตนเอง สนทนาแลกเปลี่ยนและบันทึกการทดลอง
ใช้ :
นักเรียนวาดภาพการ์ตูนช่อง “แหล่งน้ำ และการใช้น้ำอย่างเหมาะสม คุ้มค่า”
ภาระงาน
-วิเคราะห์ สนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการการบำบัดน้ำเสีย
-ออกแบบและทำเครื่องกรองน้ำอย่างง่าย
- ศึกษาค้นคว้าข้อมูลการดูแลบำบัดน้ำ ศึกษาวิธีการทำเครื่องกรองน้ำสกปรก น้ำเค็มให้สามารถดื่มได้
- ร่วมกิจกรรมกับผู้ปกครองอาสา “กลั่นน้ำ”
- ออกแบบนิทานภาพ การ์ตูนช่อง “คุณค่าและการใช้น้ำ”
ชิ้นงาน
- การ์ตูนช่อง “แหล่งน้ำ และการใช้น้ำ”
-โปสเตอร์ การใช้น้ำ(ขนาดเล็ก)
- เครื่องกรองน้ำ
-กลั่นน้ำ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจและสามารถแก้ปัญหาน้ำสกปรก น้ำเค็มให้เป็นน้ำสะอาดและสามารถนำมาดื่มได้ สามารถออกแบบและประดิษฐ์เครื่องกรองน้ำ รวมทั้งมีวิธีการ มีแนวทางในการป้องกันและดูแลแหล่งน้ำได้อย่างเหมาะสม
ทักษะ
ทักษะชีวิต
- สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
- มีความยืดหยุ่นต่อการเรียนรู้ การทำงานเพื่อให้ได้เครื่องในการแก้ปัญหาที่หลากหลาย
ทักษะการสื่อสาร
- สามารถนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจผ่าน กิจกรรมที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจผ่าน กิจกรรมที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทักษะ ICT
เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์

Week
Input
Process
Output
Outcome





6

15-19
ก.พ.
59
สื่อ-แหล่งเรียนรู้
- อินเทอร์เน็ต
- คลิปวีดีโอระบบน้ำประปา “รู้ให้ครบ ระบบน้ำใช้”  “อีเอ็มบอลคืออะไร”
- อุปกรณ์การทดลองการกรองน้ำ
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้
ผู้ปกครองอาสา (กลั่นน้ำ)

พุธ
ชง :
-นักเรียนสำรวจ ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับแหล่งน้ำในโรงเรียนและแหล่งน้ำในชุมชนของตนเอง รวมทั้งการดูแลและบำบัดน้ำ (บำบัดน้ำเสียในแหล่งใหญ่)  รวมทั้งการใช้การดูแลแหล่งน้ำอย่างเหมาะสม
เชื่อม:
นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับแหล่งน้ำในชุมชน และโรงเรียน หาแนวทางการใช้น้ำร่วมกันในชุมชนและในโรงเรียนอย่างคุ้มค่า เหมาะสม
ใช้:
นักเรียนออกแบบและทำโปสเตอร์(ขนาดเล็ก)การใช้น้ำอย่างคุ้มค่า เหมาะสม
ศุกร์
ชง:
-ผู้ปกครองอาสาพาทำการกลั่นน้ำ นักเรียน ครู ร่วมเรียนรู้กระบวนการร่วมกับผู้ปกครอง
เชื่อม :
ครู นักเรียน ผู้ปกครองร่วมแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการกลั่นน้ำ
ใช้:
-นักเรียนทำนิทานประกอบภาพ สรุปการกลั่นน้ำ และสิ่งที่ได้เรียนรู้ (ถ้าไม่เสร็จนำกลับไปทำเพิ่มเติมในช่วงวันหยุด เสาร์ อาทิตย์)
-นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการที่หลากหลาย
-สามารถนำข้อมูลมาใช้ในการเรียนรู้และแก้ปัญหาสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น แนวคิดหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ของผู้อื่น มีการระดมความคิด ในการทำงาน การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
- เป็นผู้นำ ผู้ตามในการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ รวมทั้งมีความรู้ความเข้าใจต่อสถานการณ์ใหม่ๆ ยอมรับความคิดและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นและหาแนวทางแก้ไขและพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง
ทักษะการคิดสร้างสรรค์
ประยุกต์ละนำไปใช้จากสิ่งที่เรียนรู้ และคิดริเริ่มวิธีการ/แนวทางใหม่ ๆ   ในการทำชิ้นงาน ภาระงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
คุณลักษณะ
-มีเป้าหมายในการทำงาน
- รู้จักตนเอง
- เห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้อื่น
- เคารพ ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย



ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน














1 ความคิดเห็น:

  1. กิจกรรมการเรียนรู้สัปดาห์นี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับแหล่งน้ำ และการนำน้ำมาใช้ พี่ๆสามารถเชื่อมโยงสิ่งที่ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับแหล่งน้ำและแหล่งน้ำในชุมชนว่านำมาจากแหล่งใด แต่ละแหล่งมีกระบวนการนำมาใช้อย่างไร สามารถประมวลสรุปสิ่งที่ศึกษาค้นคว้าผ่านการสรุปชาร์ตความรู้และนำเสนอแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆในชั้นเรียนได้ มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้และทำกิจกรรม ทั้งในส่วนของกิจกรรมที่พี่ทำต่อเนื่องเช่นปลูกผักบุ้งด้วยน้ำ1.5 ลิตรนั้นพี่ๆทุกคนก็ใส่ใจและหมั่นไปสังเกตผักของตนเองอย่างต่อเนื่อง บางคนที่น้ำในขวดเริ่มลดลงก็หาวิธีไม่ให้น้ำระเหยออกหรือระเหยน้อยที่สุด เมื่อเจอปัญหาหรือเรื่องที่น่าสนใจครูกระตุ้นด้วยคำถามและชวนพี่ๆแลกเปลี่ยน เช่นทำไมสารส้มที่นำมากวนจึงทำให้น้ำใสได้ ทำไมน้ำจึงระเหยเร็ว ระเหยแล้วน้ำไปไหนเป็นต้น
    สัปดาห์นี้มีกิจกรรมผู้ปกครองอาสาที่พาพี่ๆกลั่นน้ำหมักสมอซึ่งเป็นการกลั่นที่ทำให้พี่ๆได้เห็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เชื่อมโยงกับภูมิปัญญา ...แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผู้ปกครองอาสาพาทำ "กลั่นน้ำหมักสมอป่า" เรียนรู้จากภูมิปัญญาปรับเปลี่ยนประยุกต์ใช้. วันนี้เรากลั่นน้ำหมักได้สามขวด คุณปู่ซื้อสมอป่ามาหมักไว้ กลั่นเสร็จแล้วได้สามขวด พี่ๆได้ชิมคนละจิบ บางคนติดใจชิมไปหลายจิบ "เปรี้ยวจังครู" " น้ำนี้เป็นยานะ จิบวันละนิดมีประโยชน์คุณปู่บอก"
    พี่ๆ: ทำไมคุณพ่อต้องใส่น้ำในกระทะครับ
    ผู้ปกครอง: ที่เราใส่น้ำบนกระทะเพราะเมื่อน้ำในปี๊บเดือดไอน้ำจะขึ้นมาบนกระทะ ไอน้ำจะถูกความเย็นทำให้เป็นหยดน้ำไหลออกมา ถ้าน้ำในกระทะร้อนก็ต้องตักออกและเติมน้ำลงไปใหม่(พี่ๆเฝ้าสังเกตตื่นเต้นตอนที่น้ำไหลเร็วเมื่อคุณพ่อเปลี่ยนน้ำในกระทะ )
    พี่ๆ: ไอน้ำกลายเป็นหยดน้ำใช่ไหมครูเหมือนเราเอากะละมังน้ำไปตากแดด เหมือนในโรงเห็ดเราด้วย...ฯลฯ
    พี่ๆเสนอว่าเราน่าจะเอาวิธีกลั่นไปกลั่นน้ำเกลือให้เป็นน้ำจืดได้ ซึ่งพี่ๆจะขอทดลองในกิจกรรมวันต่อๆไป

    ตอบลบ