เป้าหมาย (Understanding Goal) : เข้าใจเห็นคุณค่าของน้ำ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก และมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติอื่นและวิถีชีวิตของมนุษย์ มีแนวทางในการใช้ประโยชน์จากน้ำและ ทรัพยากรธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

Week1

 เป้าหมายรายสัปดาห์ : เข้าใจความต้องการของตนเองสามารถพูดอธิบายพร้อมกับตั้งคำถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจและสามารถเลือกสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ได้


Week
Input
Process
Output
Outcome






1



11-15
ม.ค.
59

โจทย์ : 
สิ่งที่อยากเรียนรู้
                                  
คำถาม
นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องอะไร เพราะเหตุใดจึงอยากเรียนรู้                  
เครื่องมือคิด
       
-
 Round Robin แลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดูจากคลิปและกิจกรรม
- Card and Chart เรื่องที่อยากเรียนรู้
- Think Pair Share ชื่อหน่วยการเรียนรู้
- Mind Mapping ก่อนเรียนรู้
- Wall Thinking ผลงานสิ่งที่อยากเรียนรู้ น้ำที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
จันทร์
ชง
- ครูเปิดคลิปผลึกของน้ำในสภาวการณ์ ต่างๆให้นักเรียนดู ระหว่างดูครูและนักเรียนแลกเปลี่ยนสิ่งที่เห็นเป็นระยะ
- นักเรียนดูการ์ตูน The Life of water / Save water  
เชื่อม
ครู นักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับสิ่งที่ได้ดู : นักเรียนคิดอย่างไร ต่อสิ่งที่ได้ดู เชื่อว่าน้ำมีชีวิตจริงหรือไม่ เพราะเหตุใด
นักเรียนเห็นอะไร , คิดอย่างไรต่อสิ่งที่เห็น รู้สึกอย่างไร สิ่งนั้นเกี่ยวข้องกับนักเรียนอย่างไร
อังคาร
ชง :
ครูตั้งคำถาม “ใช้น้ำ 1 ถังในเวลา  1 วันอย่างไร” นักเรียนจะมีวิธีการบริหารจัดการน้ำที่มีอย่างไรให้สามารถใช้ได้ตลอดทั้งวัน นักเรียนทดลองใช้น้ำ  1 ให้ได้ตลอดทั้งวัน ทั้งใช้ดื่ม ใช้แปรงฟัน ล้างหน้า จากจำนวนสมาชิกในห้อง 23 คน
เชื่อม:
-ครูนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการใช้น้ำของเราตลอดทั้งวันเราใช้น้ำทำอะไรบ้าง สามารถตัดอะไรออกได้หรือไม่ เพราะเหตุใด
-ครูเล่าข่าวเกี่ยวกับภาวะขาดแคลนน้ำในฤดูแล้งปีนี้ (บุรีรัมย์)มอบแหล่งน้ำแก้ปัญหาภัยแล้ง บ้านหนองตะกอ จ.บุรีรัมย์ นักเรียนคิดอย่างไรกับข่าวนี้
ภาระงาน
-วิเคราะห์แลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้ดูจากคลิป การ์ตูน สารคดี
-เขียนสิ่งที่อยากเรียนรู้
-ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
-เขียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ชิ้นงาน
-เรื่องที่อยากเรียนรู้
-สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจความต้องการของตนเองสามารถพูดอธิบายพร้อมกับตั้งคำถามและแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองสนใจและสามารถเลือกสิ่งที่ตนเองอยากเรียนรู้ได้
ทักษะ
 :
ทักษะชีวิต
- สามารถสร้างทางเลือกในการทำงานและเลือกสิ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้และการทำงานได้
- กล้ารับผิด รับชอบต่อการเรียนรู้และงานที่ทำ
ทักษะการสื่อสาร
- เข้าใจและสามารถสรุปความรู้ คุณค่า ทัศนคติ จากสิ่งที่ได้ฟัง สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ได้
- สามารถนำเสนอสิ่งที่เรียนรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจผ่าน กิจกรรมที่หลากหลายในรูปแบบต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


Week
Input
Process
Output
Outcome







1



11-15
ม.ค.
59

สื่อ / แหล่งเรียนรู้
- กระดาษ
- คลิปน้ำ หยดน้ำ ผลึกน้ำ
-การ์ตูน The Life of water
Save water
-สารคดี น้ำคือชีวิต
พุธ
ชง :
-สำรวจ แหล่งน้ำและจุดที่เราต้องใช้น้ำในโรงเรียน ระหว่างการเดิน นักเรียนคิดอย่างไรต่อการสำรวจครั้งนี้ นักเรียนแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับการสำรวจ
-นักเรียนแบ่งกลุ่มทดลองทำการทดลอง “นักประดาน้ำ” วิเคราะห์การจมการลอย ปัจจัยใดที่มีผลต่อการจมการลอย เพราะเหตุใด
เชื่อม :
นักเรียน
-เขียนสรุปสิ่งที่ได้ดู :นักเรียนเห็นอะไร รู้สึกอย่างไร สิ่งนั้นเกี่ยวข้องกับนักเรียนอย่างไร นักเรียนคิดอย่างไรต่อสิ่งนั้น(สิ่งที่ได้ดู)
ศุกร์
ชง:
ครูให้นักเรียนดูสารคดี น้ำคือชีวิต
เชื่อม:
-ครูและนักเรียนสนทนาแลกเปลี่ยนสิ่งที่ได้ดู นักเรียนเห็นอะไร รู้สึกอย่างไร สิ่งนั้นเกี่ยวข้องกับนักเรียนอย่างไร นักเรียนคิดอย่างไรต่อสิ่งนั้น(สิ่งที่ได้ดู)
ใช้:
- เขียนสิ่งที่อยากเรียนรู้ พร้อมเหตุผลที่อยากเรียนรู้
- ตั้งชื่อหน่วยการเรียนรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
*** การบ้าน : เขียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนเกี่ยวกับน้ำ


ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการจัดลำดับความสำคัญสาเหตุของปัญหาได้อย่างสมเหตุสมผลเพื่อใช้ในการสรุป ประมวลและเลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้
- มีการจัดกลุ่มความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร   ที่ได้จากการสืบค้น จำแนกเป็นประเด็นความรู้เดิม กับประเด็นที่เป็นความรู้ใหม่ หรือนำเสนอประเด็นที่เป็นสาระสำคัญได้อย่างสอดคล้องน่าเชื่อถือ
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
- มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ
- มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มอื่นได้
- เปิดใจกว้างยอมรับความคิดเห็น แนวคิดหรือโลกทัศน์ใหม่ๆ ของผู้อื่น มีการระดมความคิด ในการทำงาน การเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น
คุณลักษณะ
-มีเป้าหมายในการทำงาน
- รู้จักตนเอง
- เห็นความสัมพันธ์ของตนเองกับผู้อื่น
- เคารพ ยอมรับความแตกต่างหลากหลาย


ตัวอย่างกิจกรรมและชิ้นงาน












1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้นักเรียนทำกิจกรรมเพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ ซึ่งมีกิจกรรมที่หลากหลายทั้งดูคลิปวีดีโอ ดูภาพยนตร์หรือทำกิจกรรมการสำรวจ ซึ่งการสำรวจ และการดูแต่ละครั้งครูจะตั้งคำถามกระตุ้นการคิดเพื่อให้นักเรียนได้แลกเปลี่ยนการเรียนรู้เป็นระยะๆ เช่น นักเรียนเห็นอะไรบ้างจากการสำรวจ สิ่งที่นักเรียนไปสำรวจ เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับสิ่งใดบ้าง : พี่โชค : เห็นว่าในบ่อน้ำมีปลา มีกบ มีเป็ด มีห่าน / ถ้าไม่มีน้ำเราก็ตายเพราะสิ่งมีชีวิตต้องการน้ำ , พี่อองฟรอง : ครูให้ไปสำรวจน้ำ เห็นว่าเราใช้น้ำในการรดต้นไม้ เลี้ยงสัตว์ ใช้ทำความสะอาด ทำอาหาร ซักผ้า เราใช้น้ำเยอะค่ะ / ถ้าไม่มีน้ำก็ไม่มีสิ่งมีชีวิตค่ะ , “จากภาพยนตร์ (Rango)นักเรียนได้เรียนรู้อะไรจากเรื่องที่ดู รู้สึกอย่างไร” : พี่โซ่ : ได้รู้ว่าน้ำหายาก และทุกคนต้องการน้ำ ผมจะใช้น้ำให้ประหยัด , พี่หยิน : เราไม่ควรเอาน้ำไว้ใช้แต่ตัวเอง ต้องแบ่งปันผู้อื่นด้วย เราต้องประหยัดน้ำ เป็นต้น เมื่อนักเรียนแลกเปลี่ยนและครูสังเกตเห็นว่านักเรียนรู้สึกสนุกและตื่นเต้นที่อยากจะเรียนรู้แล้ว (สังเกตจากการถามว่าเราจะทำอะไรบ้าง บางคนบอกว่าอยากเรียนเรื่องน้ำ บางคนคิดกิจกรรมไว้แล้วมาเล่าให้ฟัง) ครูจึงให้นักเรียนเลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือ Card & Chart นักเรียนอยากเรียนรู้เรื่องน้ำด้วยเหตุผลของความสนใจที่หลากหลาย บางคนอยากทำกิจกรรมทดลอง บางคนอยากหาวิธีประหยัดน้ำ หรือบางคนอยากเรียนรู้แล้วแนะนำให้ผู้อื่นประหยัดน้ำด้วย มีนักเรียนสองคนที่อยากเรียนรู้แตกต่างจากผู้อื่นคือเรื่องต้นไม้ กับภูเขาไฟ ซึ่งเพื่อนๆก็เสนอว่าสามารถนำมาเรียนรู้ร่วมกันได้เพราะต้นไม้ก็ต้องการน้ำ ส่วนเรื่องภูเขาไฟยังคิดกิจกรรมไม่ออกแต่พี่ๆบอกว่าบางทีภูเขาไฟก็อยู่ใต้น้ำทะเล เมื่อเลือกเรื่องที่อยากเรียนรู้แล้วจึงช่วยกันคิดชื่อหน่วยการเรียนรู้โดยใช้เครื่องมือ Black Board Share นักเรียนคิดชื่อหน่วย หนึ่งชื่อร่วมกันและช่วยกันตัด ต่อ เติม จนได้ชื่อหน่วยที่ชอบร่วมกัน ซึ่งได้ชื่อว่า “ น้ำหยดสุดท้าย ” ซึ่งนักเรียนให้เหตุผลว่า “ อยากให้ทุกคนรู้จักการใช้น้ำอย่างคุมค่า และประหยัด ช่วยกันดูแลน้ำ เพราะถ้าไม่มีน้ำก็ไม่มีวิ่งมีชีวิต ”

    ตอบลบ